วันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560

บทเรียนคณิตศาสตร์ 

"รูปเรขาคณิตที่คล้ายกัน"

 กับ ASSURE Model




  • ASSURE Model คืออะไร?

การใช้สื่อการสอนอย่างเป็นระบบ โดยใช้แบบจำลอง

  • แบบจำลอง ASSURE Model มีขั้นตอนดังนี้

1) Analyze learners 
2) State objectives 
3) Select instructional methods, media, and materials 
4) Utilize media and materials 
5) Require learner participation 
6) Evaluate and revise


  • เรื่องรูปเรขาคณิตที่คล้ายกันมีเนื้อหาอย่างไร?

  •            รูปเรขาคณิตจะคล้ายกันก็ต่อเมื่อมีรูปร่างเหมือนกัน แต่อาจมีขนาดเท่าหรือต่างกันก็ได้

  •             รูปเรขาคณิตจะคล้ายกันก็ต่อเมื่อความสัมพันธ์สมมูล ซึ่งได้แก่สมบัติ  สะท้อน สมบัติสมมาตร และสมบัติถ่ายทอด"
  •            รูปหลายเหลี่ยมสองรูปจะคล้ายกันก็ต่อเมื่อ


    - ขนาดของมุมเท่ากันเป็นคู่ๆทุกคู่
    - อัตราส่วนของความยาวของด้านคู่ที่สมนัยกันทุกคู่เป็นอัตราส่วนที่เท่ากัน

1. Analyze learners การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน

                         โรงเรียนคณิตมิตรศึกษาเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ ซึ่งเปิดสอนในระดับช่วงชั้นปีที่  1-3 เปิดสอนรายวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มาเป็นเวลา 7 ปี แล้ว โดยส่วนหนึ่งเป็นนโยบายของภาครัฐ อีกทั้งได้รับการสนับสนุนจากสมาคมผู้ปกครองที่ต้องการให้บุตรหลานของตนสามารถเปิดโลกทัศน์และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ เพราะผู้ปกครองส่วนมากได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียน ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีและสามารถประยุกต์ทักษะและกระบวนการในวิชาอื่นๆได้ ประกอบกับนักเรียนบางส่วนเมื่อจบชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความสนใจในคณิตศาสตร์เพื่อที่จะเรียนในแผนการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  ฐานะทางครอบครัวของนักเรียนส่วนมากอยู่ในระดับกลางถึงฐานะดี อีกทั้งความรู้ความสามารถพื้นฐานอยู่ในระดับปานกลาง

          กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีความเห็นว่าวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ในกลุ่มสาระอื่นๆ และการเรียนในระดับสูง  เป็นวิชาที่ช่วยพัฒนาคนให้คิดได้และคิดเป็น  
คือ คิดอย่างมีเหตุผล มีระเบียบขั้นตอนในการคิด สามารถแก้ปัญหาต่างๆได้

          นอกจากนั้นยังช่วยสร้างเสริมคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตอื่นๆ เช่น การสังเกต  ความละเอียดถี่ถ้วน มีสมาธิและรู้จักแก้ปัญหา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันที่ต้องใช้ความรู้และทักษะทางคณิตศาสตร์อยู่ตลอดเวลา  ซึ่งได้แก่ การประมาณค่า การซื้อขาย  เวลา  การชั่งตวงวัด  เป็นต้น


          ด้วยความสำคัญดังกล่าวมาแล้วข้างต้น  การสอนคณิตศาสตร์เพียงเพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าในใจเนื้อหาหลักของคณิตศาสตร์แบบบอกเท่านั้นจึงไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ดังนั้นการเรียนการสอนคณิตศาสตร์รูปแบบใหม่จะต้องมีการจัดหาและสร้างแบบรูปต่าง ๆ เช่น สื่อการเรียนรู้ อุปกรณ์ทางคณิตศาสตร์ เกม จากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ อีกทั้งประกอบการอธิบายให้ผู้เรียนมีทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์ และเข้าใจเห็นคุณค่าและเกิดทักษะในการคิดคำนวณ  จนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  


2. State objectives การกำหนดวัตถุประสงค์
1. นักเรียนสามารถจำแนกรูปเรขาคณิตสองรูปว่าคล้ายกันหรือไม่
2. นักเรียนสามารถบอกเงื่อนไขที่ทำให้รูปเรขาคณิตสองรูปคล้ายกันได้
3. นักเรียนสามารถอธิบายความสัมพันธ์สมมูลของความคล้ายได้
4. นักเรียนสามารถอธิบายความคล้ายของรูปหลายเหลี่ยมสองรูปได้
5. นักเรียนสามารถให้เหตุผลของรูปเรขาคณิตที่คล้ายกันได้
6. นักเรียนสามารถจำแนกรูปเรขาคณิตสองรูปว่าคล้ายกันหรือไม่
7. นักเรียนสามารถอธิบายขนาดของมุมเท่ากันเป็นคู่ๆทุกคู่ได้
8. นักเรียนสามารถอธิบายอัตราส่วนของความยาวด้านคู่ที่สมนัยกันทุกคู่เป็นอัตราส่วนที่เท่ากันได้



3. Select instructional methods, media, and materials การเลือก ดัดแปลงหรือออกแบบสื่อใหม่


เลือกสื่อเป็น โปรแกรม Sketchpad และสื่อรูปภาพ เนื่องจากโรงเรียนมีความพร้อมของสื่อในด้านเทคโนโลยี การดัดแปลงสื่อติดกระดานและการทำงานกระบวนการกลุ่ม รวมถึงใบงานที่กระตุ้นความคิดของนักเรียน


4.      Utilize media and materials การใช้สื่อ


1. ดูหรืออ่านเนื้อหาในสื่อ / ทดลองใช้

ครูทดลองใช้โปรแกรม Sketchpad เปิดดูคลิปวีดีโอจากแหล่งต่างๆ ที่จะนำเสนอให้กับนักเรียนเพื่อเป็นการตรวจสอบเนื้อหาว่าควรเน้นในช่วงใดและจะแทรกกิจกรรมลงไปได้ตรงไหนบ้าง หลังจากนั้นครูลองมาเปิดวีดีโอที่เตรียมไว้ที่โรงเรียนก่อนวันที่จะสอนจริงเพื่อตรวจสอบความพร้อมของสื่อและอุปกรณ์ก่อนนำมาใช้กับนักเรียนในวันถัดไป

2. เตรียมสภาพแวดล้อม / จัดเตรียมสถานที

ครูจัดเตรียมสภาพแวดล้อมภายในห้อง และจัดโต๊ะให้เหมาะแก่การทำกิจกรรมกลุ่มตามเหมาะสม และหาห้องเรียนที่มีเครื่องฉายโปรเจคเตอร์เพื่อเปิดสื่อการเรียนการสอน หรือคอมพิวเตอร์ประจำกลุ่มในช่วงของการใช้โปรแกรม Sketchpad

3. เตรียมผู้เรียน

ครูนำนักเรียนทำกิจกรรม warm up และเริ่มต้นการเรียนการสอนด้วยการถาม-ตอบร่วมกันทั้งชั้นเรียน เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนตื่นตัวในการเรียนครั้งนี้

4. การนำเสนอ / ควบคุมชั้นเรียน

ครูเตรียมสื่อที่จะนำเสนอก่อนนักเรียนจะมาถึงห้องเรียน ที่สำคัญครูต้องทำความเข้าใจขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมอย่างละเอียดเพื่อจะได้ทำกิจกรรมอย่างราบรื่นโดยบทนี้จะมีสรุปความคิดรวบยอดอยู่หลายส่วนจึงจะต้องวางแผนในการสอนและทำกิจกรรมให้ดี

5. Require learner participation การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน
นักเรียนมีความสนใจในการจัดการเรียนการสอนเรื่องรูปเรขาคณิตที่คล้ายกัน เพราะเป็นเรื่องที่น่าสนใจและใช้ได้มากในชีวิตประจำวัน นักเรียนมีความตั้งใจในการทำงานกลุ่มร่วมกัน รวมถึงมีความกระตือรือร้นในการตอบคำถามและอภิปรายร่วมกัน

6. Evaluate and revise การประเมินการใช้สื่อ


     จากจากขั้นนำของกิจกรรมแล้ว ให้ใบงาน “ดูซิ !!! รูปไหนคล้ายกันบ้าง ” เพื่อตรวจสอบความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับความคล้าย หลังจากจบกิจกรรมการเรียนการสอนครูแจกใบงาน “อยากรู้ ดูยังไง”โดยให้กลับไปทำที่บ้าน (นอกเวลา) จากนั้นนำมาส่งในครั้งถัดไปเพื่อทดความความเข้าใจเกี่ยวกับ concept ทั้งหมดของเรื่องนี้




ตัวอย่างขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมที่นำมาวางแผนการใช้สื่อข้างต้น

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

ครูกล่าวทักทายนักเรียน และทบทวนเนื้อหาในคาบเรียนก่อนหน้า

2  ให้นักเรียนวิเคราะห์ภาพแผ่นป้ายรูปเรขาคณิตที่ครูเตรียมให้ แล้วให้นักเรียนในห้องช่วยกันทายว่ารูปเรขาคณิต A และ รูปเรขาคณิตB ที่กำหนดให้คล้ายกันหรือไม่ เพราะเหตุใด  

ขั้นสอน

1           ให้นักเรียนจับกลุ่ม 2-3 คน เพื่อทำใบงาน ดูซิ !!! รูปไหนคล้ายกันบ้าง ”  

2           เข้าสู่กิจกรรมคล้ายกันเป็นอย่างไร
โดยมีรูปเรขาคณิตA และรูปเรขาคณิตB ที่คล้ายกัน แล้วอธิบายว่าทำไมถึงเป็นรูปเรขาคณิตที่คล้ายกัน พร้อมบอกสัญลักษณ์และคำอ่านของความคล้ายกัน โดยครูอาจใช้โปรแกรม GSP เพื่อให้นักเรียนมองภาพที่ชัดเจนขึ้นและให้เห็นถึงความคล้ายกัน

3          เข้าสู่กิจกรรม สมบัติใดทำให้เท่า
โดยมีรูปเรขาคณิตA  รูปเรขาคณิตB และ รูปเรขาคณิตC โดยอธิบายถึงสมบัติต่างๆที่โยงเข้าสู่ ความสัมพันธ์สมมูล ที่ทำให้ รูปเรขาคณิตที่กำหนดให้คล้ายกัน โดยครูอาจใช้โปรแกรม GSP เพื่อให้นักเรียนมองภาพที่ชัดเจนขึ้นและให้เห็นถึงความสัมพันธ์สมมูล

4          เข้าสู่กิจกรรม หลายเหลี่ยมคล้ายกัน เพราะฉันมีมุมและด้าน
โดยมีรูปหลายเหลี่ยม ABCD และ รูปหลายเหลี่ยม PQRS ให้นักเรียนสังเกตมุมและอัตราส่วนของความยาวด้านคู่ที่สมนัยของรูปหลายเหลี่ยมสองรูปว่าเป็นอย่างไร แล้วอธิบายถึงความสัมพันธ์ของมุมและอัตราส่วนของด้านคู่ที่สมนัยกันของรูปหลายเหลี่ยมดังกล่าว โยงเข้าสู่การสรุปเป็นนิยามว่ารูปหลายเหลี่ยมสองรูปคล้ายกัน ก็ต่อเมื่อรูปหลายเหลี่ยมสองรูปมีขนาดของมุมเท่ากันเป็นคู่ๆ ทุกคู่ และ อัตราส่วนของความยาวของด้านคู่ที่สมนัยกันทุกคู่เป็นอัตราส่วนที่เท่ากัน โดยครูอาจใช้โปรแกรม GSP เพื่อให้นักเรียนมองภาพที่ชัดเจนขึ้นและให้เห็นถึงอัตราส่วนของความยาวด้านคู่ที่สมนัยกันทุกคู่เป็นอัตราส่วนที่เท่ากัน


ขั้นสรุป

        1 .        ครูสรุปความคิดรวบยอดทั้งหมดอีกครั้งคือ รูปเรขาคณิตสองรูปจะคล้ายกันก็ต่อเมื่อ 

-         มีรูปร่างเหมือนกัน แต่อาจมีขนาดเท่าหรือต่างกันก็ได้

-         ความคล้ายเป็นความสัมพันธ์สมมูล ซึ่งได้แก่สมบัติสะท้อน สมบัติสมมาตร และสมบัติถ่ายทอด

-        รูปหลายเหลี่ยมสองรูปจะคล้ายกันก็ต่อเมื่อ

    1)      ขนาดของมุมเท่ากันเป็นคู่ๆทุกคู่
    2)      อัตราส่วนของความยาวของด้านคู่ที่สมนัยกันทุกคู่เป็นอัตราส่วนที่เท่ากัน

         2.       ครูแจกใบงาน อยากรู้ ดูยังไงพร้อมอธิบายคำชี้แจง และ ให้นักเรียนกลับไปทำที่บ้านและนำมาส่งคาบถัดไป







     อ้างอิง :

     วรรณิภา,สายฝน .2558.คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน. (ออนไลน์).แหล่งที่มาhttp://ftpmath.blogspot.com/2010/07/blog-  post_02.html. 6 เมษายน 2560.

โรงเรียนบุญวัฒนา .2550.assure model. (ออนไลน์).
                      แหล่งที่มา :  https://www.gotoknow.org/posts/141239. 6 เมษายน 2560.










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น